.
วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558
ข้อมูลของเกาะแสมสาร
เกาะแสมสาร
เกาะแสมสาร มีลักษณะเป็นรูปทรงยาวรี ขนาดพื้นที่โดยรวมประมาณ 5 ตารางกิโลเมตรเกาะหนึ่งที่ขึ้นกับอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี อยู่ทางทิศใต้ของแหลมแสมสาร ออกไปประมาณ2 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากฝั่งของอำเภอสัตหีบไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 8 กิโลเมตร โดยมีเนื้อที่บนเกาะทั้งหมดจำนวน 2738 ไร่ 3 งาน 36 ตารางวา เป็นเกาะที่มี เกาะแสมสาร เป็น 1 ใน 9 เกาะ ในโครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพฯ (รู้จักกันในนามของ อพ.สธ. ) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาเกาะ ทั้งหมด จึงเปิดให้เกาะนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ตามแนวทางของสมเด็จพระเทพฯ ที่ว่า อยากให้เยาวชนได้ศึกษา ธรรมชาติ โดยใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติให้กับเยาวชน เพื่อให้ มีใจในการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างแท้จริง
1. หาดเทียน อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะแสมสาร
2. หาดแหลมฝรั่ง อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะแสมสาร
3. หาดเตยและหาดกรวด อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะแสมสาร
4. หาดลูกลม อยู่ทางด้านทิศเหนือของเกาะแสมสาร
ขอขอบคุณข้อมูล และ รูปภาพบางส่วนจาก : http://www.paiduaykan.com/province/east/chonburi/kohsamaesarn.html
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับการทรงงานด้านพฤกษศาสตร์
ความเป็นมาของโครงการการอนุรักษ์พรรณพืชบนเกาะแสมสาร
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เกาะแสมสาร สนองพระราชดำริโดยกองทัพเรือ ได้ดำเนินการเบื้องต้นเมื่อปี 2540 คณะสำรวจของ ดร.พิศิษฐ วรอุไร ทำการ
สำรวจบริเวณเกาะแสมสาร จากการสำรวจของคณะปฎิบัติงานบริหารงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ได้ ศึกษาเก็บข้อมูลในพื้นที่ โดยร่วมกับกองทัพเรือและเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้แล้ว มีความเห็นสรุปว่า " เกาะแสมสาร " เป็นเกาะที่มีความเหมาะสมที่จะทำการ
อนุรักษ์พันธุกรรมพืช เนื่องจากมีความหลากหลายของพันธุ์พืช และในปี 2541 ทางกองทัพเรือมีความพร้อมทั้งหน่วยงานและพื้นที่ จึงขอเข้าร่วมสนองพระราชดำริ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ที่เกาะแสมสาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงมีพระราชวินิจฉัยอนุมัติแผนแม่บทโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามที่กองทัพเรือเสนอโดยทรงมีพระราชดำริเพิ่มเติมโดยสรุปได้ดังนี้.
1) ให้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ เกาะแสมสาร มีรูปแบบการดำเนินการคล้ายคลึงกับที่ เกาะปอร์กอรอล ประเทศฝรั่งเศส
2) ให้มีการรวบรวมพรรณไม้นานาชนิด ทั้งพืชบนดินและพืชน้ำ โดยเน้นระบบนิเวศวิทยาและแบบภาพรวม
3) ให้รวมเอาเกาะเล็กๆ รอบเกาะแสมสารเข้าไว้ในโครงการฯ ในรูปแบบลักษณะผสมผสาน
4) ให้ลงมือดำเนินการเร็วที่สุด โดยปฎิบัติงานและพิจารณาค่าใช้จ่ายเป็นรายปี
การเดินทางไปท่าเรือเขาหมาจ๊อ
รถยนต์ส่วนตัว
ใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์ กรุงเทพ ฯ – ระยองจากมอเตอร์เวย์กรุงเทพ ฯ สุดทางที่ถนนตัดสายบายพาสอ้อมเมืองชลบุรี ขับรถตรงไปทางระยองผ่าน ทางแยก ต่างระดับ ที่เบี่ยงซ้ายไปแหลมฉบัง อาจจะเปลี่ยนเส้นทางใช้ถนนสายนี้ไปทางถนนสุขุมวิทก็ได้ แต่แนะนำให้ ขับรถตรงไปทางระยอง ถึงทาง แยกต่างระดับให้เลี้ยวซ้ายไประยอง และสังเกตป้ายบอกทางไปสัตหีบ พอถึงสามแยกสัตหีบ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ ถนนสาย 331 ผ่านสนามบินอู่ตะเภาถึงสี่แยกไฟแดงบ้านกิโลเมตร 10 ขับรถตรงไปตาม เส้นทางไปท่าเรือสัตหีบ (ท่าเรือน้ำลึกจุกเสม็ด) ไปนิดนึงให้เลี้ยวซ้ายเข้าบ้านช่องแสมสาร สังเกตป้ายบอก ทางไปวิหารหลวงพ่อดำและ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย ให้ขับไปทางป้ายพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทยท่าเรือไปเกาะขามจะตั้งอยู่ข้างในพิพิธภัณฑ์
จากเส้นถนนสุขุมวิท
จากบางนาขับรถตรงไประยอง ผ่านชลบุรี บางแสน ศรีราชา พัทยา สัตหีบจากสามแยก สัตหีบให้จับเลขไมล์ รถยนต์ไปถึง กิโลเมตร 6 มีสามแยกใหญ่ให้เลี้ยวขวาไปตามทางไปท่าเรือสัตหีบ ถึงสามแยกถนนตัดจากที่ มาจากบ้านกิโลเมตร 10 เลี้ยวขวาและใช้เส้นทางเดียวกับ การเดินทางเส้นทางที่ 1 ใช้ถนนสาย 331 แล้วใช้เส้น ทางเดียวกับเส้นทางแรก
รถโดยสารสาธารณะ
นั่งรถกรุงเทพ - ระยอง (สายเก่า สายใหม่ไม่ผ่าน) บอกคนรถว่าลงที่ตลาดสัตหีบ เมื่อถึงตลาดสัตหีบแล้ว ให้ต่อรถสองแถว สีน้ำเงิน ที่ด้านหน้ารถมีป้ายเขียนว่า แสมสาร เพื่อความมั่นใจให้ถามคนขับว่าไปท่าเรือเขาหมาจอ หรือ ไปที่ศูนย์อนุรักษ์การดำน้ำ ไหม เพราะรถคันนี้จะไปส่งที่หน้าศูนย์ฯ
โดยรถตู้
จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นั่งรถตู้สายสัตหีบ ให้ไปลงที่ ตลาดสัตหีบ แล้วต่อสองแถวแบบเดียวกันกับการเดินทางโดยรถทัวร์ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.paiduaykan.com/province/east/chonburi/kohsamaesarn.html
ข้อมูลการเดินทางไปเกาะ
ตารางเที่ยวเรือขาไป
เนื่องจากช่วงนี้มีคนไปเที่ยวเกาะแสมสารเยอะมากขึ้น ในวันเสาร์อาทิตย์หากไม่อยากพลาดควรไปจองรอบเรือแต่เช้าโดยเจ้าหน้าที่เปิด ให้ลงชื่อจองเวลา 8.45 น. หลังจากนั้นก็จะเรียกชื่อตามคิวเพื่อให้มาจ่ายเงิน หากเต็มแล้วจะไม่รับเพิ่ม โดยจำกัดนักท่องเที่ยว 500 คนต่อวัน เรือขาไปมี 5 รอบ รอบละ 100 คน ไม่รับจองทางโทรศัพท์
รอบเรือขาไป
รอบที่ 1 09.00 น.
รอบที่ 2 10.00 น.
รอบที่ 3 11.00 น.
รอบที่ 4 12.00 น.
รอบที่ 5 13.00 น.
รอบเรือขากลับ
รอบที่ 1 10.30
รอบที่ 2 13.30
รอบที่ 3 15.00
รอบที่ 4 16.30
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.paiduaykan.com/province/east/chonburi/kohsamaesarn.html
วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558
พืชพรรณบนเกาะแสมสาร
จากการสำรวจเกาะแสมสารและเกาะใกล้เคียง
ของคณะสำรวจพรรณพฤกษชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยคณะปฎิบัติงานวิทยาการและคณะวิทยปฎิบัติการ โดยการรวมตัวของนักวิชาการหลายสถาบันทำการสำรวจเกาะแสมสารและข้างเคียง นับแต่ยอดเขาถึงชายฝั่งเพื่อรวบรวมข้อมูลระบบนิเวศน์เกาะ สำหรับการดำเนินการเพื่อให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตามโครงการฯ ที่สมบูรณ์ของประเทศไทย ได้ทำการสำรวจและจำแนกสังคมพืชของหมู่เกาะแสมสารไว้ได้ดังนี้
ของคณะสำรวจพรรณพฤกษชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยคณะปฎิบัติงานวิทยาการและคณะวิทยปฎิบัติการ โดยการรวมตัวของนักวิชาการหลายสถาบันทำการสำรวจเกาะแสมสารและข้างเคียง นับแต่ยอดเขาถึงชายฝั่งเพื่อรวบรวมข้อมูลระบบนิเวศน์เกาะ สำหรับการดำเนินการเพื่อให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตามโครงการฯ ที่สมบูรณ์ของประเทศไทย ได้ทำการสำรวจและจำแนกสังคมพืชของหมู่เกาะแสมสารไว้ได้ดังนี้
สังคมพืชหมู่เกาะแสมสาร จัดเป็นประเภท สังคมพืชฝั่งทะเล (Littoral vegetation) ได้แก่
1. สังคมพืชชายหาด (strand vegetation) แบ่งย่อยตามสภาพพื้นที่เป็น 2 แบบ ได้แก่ สังคมพืชหาดทราย และ สังคม
พืชตามโขดหิน
พืชตามโขดหิน
ผักบุ้งทะเล เทียนทะเล
2. สังคมพืชป่าชายเลน (mangrove vegetation) พบตามร่องน้ำเล็กๆชายฝั่ง ไม่ปรากฎลักษณะโครงสร้างของป่าที่ชัด
เจนประกอบไปด้วย พรรณไม้ป่าชายเลนขึ้นโดดเดี่ยวเพียงไม่กี่ชนิด
แสมขาว
3. สังคมพืชป่าดิบแล้ง (ฝั่งทะเล) (littoral dry evergreen forest)
พลอง
4. สังคมพืชหน้าผา (cliff vegetation)
ตานหม่อน
5. สังคมพืชป่ารุ่น ป่าเหล่าหรือป่าใสอ่อน (secondary growth)
เสลาใบใหญ่
ขอบคุณข้อมูลจากและภาพ : http://www.sattahipbeach.com/sheettoursattahippage16.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)